เมนู

อารมณ์) 1 ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ) 1. บทว่า อปฺปมตฺโต
ได้แก่ ไม่ประมาทด้วยกรรมฐานภาวนา โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุย่อมชำระจิต
จากอาวรณียธรรม (ธรรมป้องกันไม่ให้บรรลุความดี) ด้วยการจงกรม ด้วย
การนั่งตลอดวัน. บทว่า สํโยชนํ ชาติชราย เฉตฺวา ได้แก่ ตัดกิเลส
10 อย่างมีกามราคะเป็นต้น อันได้ชื่อว่าสังโยชน์ เพราะประกอบสัตว์ไว้ด้วย
ชาติ และชราจากมูลรากด้วยการถอนอนุสัย (กิเลสอัน นอนเนื่องอยู่ในสันดาน)
ขาดแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สํโยชนํ ชาติชราย เฉตฺวา ได้แก่ ตัด
กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วยชาติชราขาดแล้ว. อันที่จริง ผู้ที่ยังตัดสังโยชน์
ขาดไม่ได้ ก็ยังตัดและถอนชาติชราไม่ได้ แต่ผู้ที่ตัดสังโยชน์ได้ ก็ตัดชาติชรา
ขาดได้ เพราะถอนเหตุเสียได้ ฉะนั้น เมื่อตัดสังโยชน์ขาด ก็ชื่อว่า ตัดชาติ
ชราขาดได้. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สํโยชนํ ชาติชราย
เฉตฺวา
ดังนี้. บทว่า อิเธว สมฺโพธิมนุตฺตรํ ผุเส ได้แก่ พึงถูกต้อง
คือ พึงบรรลุพระอรหัต อันล้ำเลิศได้ในอัตภาพนี้แล.
จบอรรถกถาอาตาปีสูตรที่ 7

8. ปฐมนกุหนาสูตร


ว่าด้วยแนวปฏิบัติพรหมจรรย์


[213] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะ
หลอกลวงชน ไม่อยู่ประพฤติเพื่อประจบคน ไม่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงส์ คือ